fbpx

5 ขั้นตอน สร้าง Brand Identity ให้น่าจดจำอย่างแบรนด์ระดับโลก

Cover_200408_0012

การสร้างโลโก้ ชื่อแบรนด์ของธุรกิจตัวเอง?

การสร้างมูลค่าที่มากกว่าเดิมแก่สินค้าของคุณ?

ใช่ค่ะ​ สองข้อดังกล่าวคือส่วนหนึ่งของการสร้างแบรนด์ แต่การสร้างแบรนด์มีอะไรที่ลึกซึ้งมากกว่านั้น มันคือการที่คุณสร้างมุมมองบางอย่างต่อลูกค้า การส่งมอบความรู้สึก ตัวตน ที่โดดเด่นและแตกต่าง ไปสู่ใจของลูกค้า และมันคือสิ่งที่สิ่งที่ผู้อื่นพูดถึงคุณ

01

  1. ศึกษาผู้ชม คู่แข่ง รวมถึงจุดแข็งของแบรนด์

เมื่อคุณเริ่มต้นธุรกิจ ขั้นตอนแรกในการสร้างเอกลักษณ์ของแบรนด์ (Brand Identity) คือการศึกษาตลาด ซึ่งการจะทำสิ่งนี้ได้ คุณต้องทำความเข้าใจห้าองค์ประกอบเหล่านี้ก่อน นั่นก็คือ

  • Audience (รู้จักผู้ชม)

ธรรมดาที่คนในแต่ละช่วงวัยที่แตกต่างกัน จะมีความต้องการที่ต่างกัน นั่นทำให้คุณไม่สามารถนำเสนอสินค้าและบริการสำหรับเด็ก ด้วยวิธีเดียวกันกับการเสนอสินค้าสำหรับผู้ใหญ่ได้ การเรียนรู้สิ่งที่ผู้ชมของคุณต้องการจากธุรกิจ จึงมีความสำคัญมากต่อการสร้างแบรนด์ให้คนจดจำ

  • Value Proposition & Competition (รู้คุณค่าหรือจุดแข็งของแบรนด์ และรู้จักคู่แข่ง)

การรู้คุณค่าและจุดแข็งของแบรนด์ คือการรู้ว่าอะไรที่ทำให้ธุรกิจของคุณโดดเด่นในอุตสาหกรรมเดียวกับคุณได้ รู้ว่าสิ่งใดที่คุณสามารถมอบให้ผู้บริโภคโดยที่ธุรกิจเจ้าอื่นทำไม่ได้ อีกทั้งรู้ข้อแตกต่างระหว่างคุณและคู่แข่ง ซึ่งมีความสำคัญต่อการพัฒนาแบรนด์ให้ประสบความสำเร็จ การสังเกตคู่แข่ง จะเป็นบทเรียนให้กับคุณ เกี่ยวกับเทคนิคการสร้างแบรนด์ว่าแบบไหนใช้งานได้ดีและแบบไหนที่ไม่จะไม่ควรทำ

  • Mission (มีพันธกิจและวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน)

อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือคุณต้องมี Mission Statement หรือพันธกิจของบริษัทที่ชัดเจน ซึ่งเกี่ยวโยงกับวิสัยทัศน์และเป้าหมายของคุณด้วย คุณจะไม่สามารถสร้างบุคลิกภาพที่ชัดเจนให้กับธุรกิจได้ จนกว่าคุณจะรู้ว่าธุรกิจนั้นทำเกี่ยวกับอะไร และมีมุมมองในสิ่งที่ทำอย่างไร

2. Personality (บุคลิกภาพของแบรนด์)

คุณสามารถสร้างภาพลักษณ์หรือบุคคลิกภาพของแบรนด์ได้โดยใช้รูปแบบ สี และภาพ เพื่อแสดงความเป็นแบรนด์คุณออกมา ซึ่งรูปแบบ สี และภาพเหล่านั้นจะสัมพันธ์กับโทนหรืออารมณ์ความรู้สึกของแบรนด์ด้วย เช่น แบรนด์แสดงถึงภาพลักษณ์ที่มั่นใจ กระฉับกระเฉงอย่าง Nike หรือแสดงภาพลักษณ์ความมีไหวพริบ เป็นมืออาชีพอย่าง Givenchy (จีวองชี่) ไม่ว่าจะเป็นแบบไหน คุณต้องแน่ใจว่า Branding ของคุณนั้น ได้นำเสนอสิ่งที่เป็นคุณที่สุดออกมาแล้ว

แน่นอนว่าการศึกษา ยิ่งคุณรู้เกี่ยวกับธุรกิจของคุณมากเท่าไหร่ ความเป็นตัวตนที่แตกต่างของแบรนด์คุณก็จะยิ่งชัดเจนมากขึ้นเท่านั้น

02

3. การวิเคราะห์ SWOT

อันเป็นประโยชน์ต่อการทำความเข้าใจแบรนด์ ถึงจุดอ่อน จุดแข็ง ช่วยให้คุณค้นหาคาแรคเตอร์ที่คุณต้องการนำเสนอในแบรนด์ได้ โดย SWOT ที่พูดถึงมีความหมายดังต่อไปนี้

  1. Strengths (จุดแข็ง) : จุดเด่นหรือจุดแข็ง ของแบรนด์เองที่ทำให้ได้เปรียบเหนือคู่แข่ง เอกลักษณ์ที่ไม่มีคู่แข่งเจ้าใดสามารถเลียนแบบได้
  2. Weaknesses (จุดอ่อน) : จุดด้อย หรือจุดอ่อนของแบรนด์ ที่จะต้องหาวิธีในการแก้ไข
  3. Opportunities (โอกาส) : โอกาสจากสภาพแวดล้อมภายนอกของบริษัทเอื้อประโยชน์หรือส่งเสริมการดำเนินงานขององค์กร
  4. Threats (อุปสรรค) : เป็นข้อจำกัดที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายนอก ซึ่งธุรกิจจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์การตลาดให้สอดคล้องและพยายามขจัดอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้น.

    4. ความแตกต่างระหว่างจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค

  • จุดแข็งและจุดอ่อน

เกิดมาจากปัจจัยภายในของธุรกิจ ที่เราสามารถควบคุมได้ เช่น ชื่อเสียงของแบรนด์ จุดเด่น เอกลักษณ์ที่โดดเด่น แตกต่างจากคู่แข่ง หรือ คุณภาพสินค้าที่ดี ข้อเสีย ปัญหา หรือต้นทุนที่สูงกว่าคู่แข่ง ล้วนแต่เป็นปัจจัยที่สามารถปรับแก้ไขได้

  • โอกาสและอุปสรรค

เป็นปัจจัยที่มาจากภายนอก หมายถึง เราไม่สามารถควบคุมเหตุการ์ณเหล่านั้นได้ เช่น เทรนด์ของธุรกิจชานมไข่มุกที่มาแรง หลายๆเจ้าก็เปิดแบรนด์ของตนเองออกมาแข่งกัน หรือ การปรับภาษีของสินนำเข้าบางอย่างก็อาจส่งผลต่อธุรกิจได้

5.  การออกแบบ โลโก้ และ เทมเพลตของธุรกิจ

เมื่อคุณรู้จักธุรกิจของคุณเพียงพอ ก็ถึงเวลาที่จะทำให้แบรนด์ของคุณมีชีวิตและตัวตนขึ้นมาได้แล้ว มีคำพูดหนึ่งของกราฟิกดีไซเนอร์ที่ชื่อว่า Paul Rand ได้พูดเอาไว้ว่า “การออกแบบ คือการสร้างแบรนด์แอมบาสเดอร์แบบเงียบๆให้กับแบรนด์ของคุณอยู่”  นั่นหมายความว่า การออกแบบเป็นสิ่งที่ช่วยเสนอความเป็นคุณ และความน่าสนใจของคุณให้ออกมาสู่สายตาผู้ชมด้วย ซึ่งการออกแบบเกี่ยวกับแบรนด์ที่คุณจำเป็นต้องรู้ มีดังต่อไปนี้

03

  • Logo (โลโก้)

แม้ว่าโลโก้จะไม่ได้เป็นทั้งหมดที่แสดงถึง Brand Identity แต่ก็เป็นองค์ประกอบสำคัญในกระบวนการสร้างแบรนด์ โลโก้มักจะเป็นส่วนที่คนจดจำได้ดีที่สุดของแบรนด์ เพราะมีอยู่ทุกที่ ในทุกอย่างตั้งแต่เว็บไซต์ จนถึงนามบัตร ไปจนถึงโฆษณาออนไลน์ของคุณ ด้วยโลโก้อยู่ในทุกส่วนของการนำเสนอ จึงควรทำให้โลโก้ที่อยู่ในแต่ละชิ้นงานมีความกลมกลืนในทิศทาง

  • Color & Type (สีและตัวอักษร)

รูปแบบของสี เป็นส่วนที่ช่วยเสริมความเป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์ สีช่วยเพิ่มความหลากหลาย ทำให้คุณสามารถออกแบบให้แตกต่าง แต่ยังคงรักษาเอกลักษณ์ของแบรนด์ไว้ได้ รูปแบบตัวอักษรเป็นเหมือนดาบสองคม หากไม่ได้ใช้อย่างเหมาะสม อย่างเช่นการออกแบบตัวอักษรแบบ “Mix and Match” ที่กลายเป็นเทรนด์ไปแล้วในปัจจุบัน แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าการผสมผสานฟอนต์บางรูปแบบเข้าด้วยแล้วจะเป็นแนวคิดที่ดีสำหรับธุรกิจ

  • Templates (เทมเพลต)

สำหรับการทำธุรกิจ การส่งอีเมล์ เอกสาร หรือนามบัตรให้กับผู้ที่มีโอกาสเป็นลูกค้า เกิดขึ้นทุกวันในการทำงาน การสร้างเทมเพลตที่แน่นอนและสื่อถึงแบรนด์ได้เอาไว้ จะทำให้ธุรกิจของคุณมีภาพลักษณ์และความรู้สึกที่เป็นมืออาชีพ

 

 

ขอขอบคุณ ข้อมูลดีๆจาก https://stepstraining.co

Contact us :

Line: glaselgrand31 / glaselgrand32 / Wisdom33

Tel : 082-796-7763 / 063-404-8333 หรือ 094-996-9564

Facebook : www.facebook.com/glaselgrand

Website: www.glaselgrand.com